กวางป่า หรือ กวางม้า

ชื่อวิทยาศาสตร์
Rusa unicolor หรือ Cervus unicolor

ชื่อสามัญ
Sambar Deer

ถิ่นกำเนิด
ถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียใต้ ตั้งแต่ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล พม่า ภูฎาน ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบางส่วนของจีนชนิดที่มีในไทยเป็นชนิดย่อยCervus unicolor eguinusซึ่งมีอยู่ตามป่าดงดิบทุกภาคมีทั้งป่าในระดับต่ำและป่าสูง แหล่งที่เลี้ยงพบมากในพื้นที่ภาคกลาง และ ภาคตะวันออกของประเทศไทย

ลักษณะทั่วไป
นับเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวลำตัวและหัว 180-200 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-28 เซนติเมตร และหนักได้ถึง 185-220 กิโลกรัม โดยทั่วไปเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย มีขนสั้นหยาบสีน้ำตาลแกมเหลือง บางตัวน้ำตาลแกมแดง พบตามป่าดงดิบทุกภาค ทั้งในป่าระดับต่ำ ป่าสูง ชอบหากินตามทุ่งโล่ง ชายป่า ในตอนเช้าตรู่และพลบค่ำ กลางวันจะหลับนอนตามพุ่มไม้ใกล้ชายป่า จะกินพืช ทั้งใบ ยอด และต้องการดินโป่ง ในธรรมชาติชอบอยู่ตัวเดียวหรืออยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ พร้อมลูก ๆ ฤดูผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นฤดูหนาว

อาหาร
ชอบกินใบไม้ และยอดอ่อนของพืชมากกว่าหญ้า อาหารในธรรมชาติของกวางได้แก่ เถาวัลย์อ่อน ๆ ยอดอ่อนของไม้พุ่มเตี้ย ๆ ใบไม้ใบหญ้าที่เพิ่งผลิใบ ใบไผ่ และชอบกินดินโป่งมาก

แหล่งอ้างอิง
1.https://th.wikipedia.org/wiki/กวางป่า
2.http://breeding.dld.go.th/biodiversity/chm/
pvp_chm/provineculture/Sambar%20Deer.htm
3.http://www.zoothailand.org/animal_view.php?
detail_id=42&c_id=